[ใหม่] ราชินีแห่งน้ำมันงา Hi-seam ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ดีสำหรับทุกวัยเพราะมีโปรตีนและแคลเซียม มากสุดๆโทร.084-2061619
950 ฿
รายละเอียด
ราชินีแห่งพืช...น้ำมันงา
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันงา (Hi-seam)
บุคคลที่ควรบริโภค
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ดีสำหรับเด็ก เพราะมีโปรตีนมากกกว่านมวัวถึง 2 เท่า มีแคลเซียมมากกว่าพืชผัก 40 เท่า
- ดีสำหรับผู้สูงอายุ
- ดีสำหรับคนทุกเพศทุกวัย
- ดีสำหรับผู้สูงอายุที่ปวดเข่า ข้อกระดูก
- สุภาพบุรุษที่ชอบดื่มแอลกอฮอร์
- หญิงสาวที่ปวดท้องเวลามีประจำเดือน
รับประทานครั้งละ 2 เม็ด เช้า – เย็น
ความสำคัญและคุณค่าทางโภชนาการของงา
งามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Sesame และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Sesamum indicum L. อยู่ในวงศ์ Pedaliacae เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก พบหลักฐานที่หุบเขา Harappa ในคาบสมุทรอินเดีย เมื่อ 5,500 ปี ก่อนคริสตกาล งาเป็นพืชอาหารที่มีการปลูกและบริโภคมานาน ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกงาทั่วโลกประมาณ 40.2 ล้านไร่ โดยประเทศอินเดียมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ส่วนประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 410,000 ไร่
เมล็ดงามีปริมาณน้ำมันสูงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเมล็ด งาเป็นพืชอาหารที่มีคุณภาพดีหลายประการ เช่น น้ำมันงามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ที่สำคัญคือ กรดโอลิอิก (Oleic acid) และกรดไลโนลิอิก (Linoleic acid) เมล็ดงามีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้มีสารเยื่อใย ธาตุอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม โปแตสเซียม และซีรีเนียม วิตามินบี 1 บี 2 แคโรทีน (Carotene) และไนอะซีน (niacin) เป็นต้น
นอกจากนี้ในเมล็ดงาและน้ำมันงายังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มลิกแนน (lignana antioxidant) ที่สำคัญ ได้แก่ เซซามิน (Sesamin) และเซซาโมลิน (sesamolin) ซึ่งสารลิกแนนนี้มีคุณสมบัติที่ต้านการเกิดออกซิเดชั่น
จากศึกษาพบว่าสารลิ กแนนในงาช่วยชะลอความแก่ ลดคอเลสเตอรอล ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิตดี และช่วยลดปฎิกิริยาทางเคมีที่จะชักนำให้เกิดมะเร็ง ในปัจจุบันได้มีปริษัทเอกชนในประเทศญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป ได้ผลิตแคปซูลที่มีสารเซซามินและเซซาโมลินจำหน่ายเป็นอาหารสุขภาพ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นได้รับรองงาเป็นอาหารสุขภาพ และสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (The United States National Cancer Institute) ได้เริ่มโครงการศึกษาเกี่ยวกับสารจากพืชหลายชนิดที่สามารถป้องกันการเกิด มะเร็ง ซึ่งมีงารวมอยู่ด้วย
(Ashri, 1998; Namiki, 1995; Morris, 2002)
คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้
- มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส
- สามารถลดการอักเสบ
- มีรายงานการทดลองว่าสามารถทำให้หลอดเลือดแดงดีขึ้น ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด (Atherosclerosis)
- ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง
- ใน การศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการ น้ำมันงาสามารถสกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง (malignant melanoma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเป็นเพราะมีกรด linoleic ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น (EFA)
- มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเมื่อซึมซับลงไปใต้ผิวหนังแล้วจะทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จึงมีสรรพคุณต้านการเกิดมะเร็งด้วย
- เมื่อเข้าสู่หลอดเลือดจะช่วยลดจำนวนไลโปโปรตีนชนิดเบา (LDL) ในหลอดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- น้ำมันงาช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ให้เป็นปกติ
- ภายในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เซลล์บางชนิดใช้ไขมันแทนน้ำตาล น้ำมันงาจะเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์เหล่านี้
- เมื่อใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด
- ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี
- ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง
- ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม
- เมื่อ ทาผิวหนังจะช่วยจับสารพิษชนิดละลายน้ำได้ และเมื่อล้างหรืออาบน้ำ สารพิษที่จับไว้ก็จะหลุดไป น้ำมันงาจะช่วยจับสารพิษในกระแสเลือดเช่นเดียวกัน และนำไปสู่การขจัดออกจากร่างกายต่อไป
- เมื่อใช้ทาผมและนวดศีรษะจะช่วยให้หนังศีรษะไม่แห้ง และช่วยรักษาเหาในกรณีที่เด็กติดเหา
- การ ทาน้ำมันงานอกจากจะทำให้ผิวนุ่มแล้วจะช่วยรักษาแผลเล็กน้อยได้ เมื่อใช้เป็นน้ำมันนวดให้ใช้ทาแขนขาในลักษณะขึ้นลงและใช้วิธีคลึงเป็นวงกลม รอบๆ ข้อต่อ เพื่อกระตุ้นพลังธรรมชาติของข้อ ช่วยลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย
- ใช้ ทาผิวหน้าจะทำให้ผิวตึงขึ้น เมื่อทาบริเวณจมูกจะทำให้รูขุมขนไม่ให้เปิดมากไป ป้องกันการแก่ตัวของผิวหน้า ใช้ได้ดีแม้กับวัยรุ่นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางอื่นๆ เลย
- ใช้ทาให้ทั่วตัวก่อนว่ายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดระคายเคือง จากสารคลอรีนที่ผสมไว้ในสระว่ายน้ำ น้ำมันงาดูดซึมเร็วไม่ติดค้างอยู่บนผิว
- สำหรับผู้ต้องรับการรักษาด้วยการฉายรังสี น้ำมันงาจะช่วยบรรเทาอันตรายจากออกซิเจนอิสระที่เกิดจากการรักษาชนิดนี้
- ผสม น้ำชำระส่วนปกปิดจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน (Vaginal yeast infections) และเนื่องจากน้ำมันงามีสารที่มีผลคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงมีผู้ใช้ทาเฉพาะที่เพื่อช่วยลดการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดการบางตัวของผิวที่อาจทำให้มีอาการระคายเคืองเมื่อฮอร์โมนหญิงลด ลง ชาวอินเดียใช้ทาหน้าท้องเมื่อปวดประจำเดือน
- สำหรับ ทารกน้ำมันงาจะช่วยป้องกันการเกิดการระคาย เกิดผื่นแดงที่ผิวจากปัสสาวะและความอับชื้น (rash) เมื่อใช้ทาผิวบริเวณจมูกและหูจะช่วยป้องกันโรคผิวหนังที่อาจเกิดบริเวณเหล่า นี้ สำหรับเด็กที่เป็นหวัดและติดหวัดบ่อย ใช้น้ำมันงาเช็ดภายในผนังจมูกเล็กน้อยจะช่วยลดการติดเชื้อที่มาเข้าสู่ร่าง กายได้
- มีผลในการระบายท้อง (Laxative) โดยจิบเพียง 1 ช้อนชาก่อนนอน อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก แต่อย่าใช้ขณะท้องร่วง