[ใหม่] โรคอ้วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6

655 สัปดาห์ ที่แล้ว - นครนายก - คนดู 279
  • โรคอ้วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6  รูปที่ 1
  • โรคอ้วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6  รูปที่ 2
  • โรคอ้วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6  รูปที่ 3
รายละเอียด
รวมวิธีลดพุง ลดต้นขา ลดต้นแขน วิธีลดน่องและสะโพก


โรคอ้วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย


ทัน เหงียน
วิรัตน์ คำศรีจันทร์
จิราพร ชมพิกุล


บทคัดย่อ


โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งของ ทั่วโลก ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนอย่างสูงทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และเด็กการศึกษาแบบตัด ขวางในครั้งนี้ ดำเนินการในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทยในปี 2008 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความชุกของโรคอ้วนและปัจจัยเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม 1-6 สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 230 คน
นักวิจัยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของนักเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนโดยแบบสอบถาม

ผล การวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนมีภาวะโรคอ้วนร้อยละ 8.7 อ้วนร้อยละ 6.04 และค่อนข้างอ้วนร้อยละ5.65 อาชีพของบิดามารดามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อโรคอ้วน รายได้ของครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับโรคอ้วน ปัจจัยด้านเพศ สถานภาพการสมรสของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา และลำดับที่ของบุตร มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญกับภาวะโรคอ้วน พบว่านักเรียนที่รับประทานผลไม้มากกว่า 3 ครั้ง ต่อหนึ่งสัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน 3.69 เท่าของนักเรียนที่รับประทานผลไม้ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่า การบริโภคอาหารอย่างอื่น เช่น อาหารฟาสต์ฟู๊ด อาหารทอดและปนมัน รวมทั้งกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย และความรู้ทางโภชนาการ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับโรคอ้วนในการวิจัยนี้ การใช้เวลาดูทีวี การรับความบันเทิงที่ขาดการเคลื่อนไหว ของกลุ่มนักเรียนที่มีและไม่มีภาวะโรคอ้วน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญการก่อเกิดโรคอ้วนมีสัญญาณขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องให้การติดตามนักเรียนที่เป็นโรคอ้วนและค่อนข้างอ้วนอย่าง ใกล้ชิด การศึกษาครั้งนี้ให้ข้อค้นพบที่แตกต่างจากการวิจัย ในระยะที่ผ่านมาในทางตรงกันข้าม ดังนั้น จำเป็นต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง และควรดำเนินการวิจัยเพิ่มขึ้นในอนาคตเพื่อหาข้อยืนยัน การส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายเพื่อหลีกเลี่ยง โรคอ้วน ควรมีการดำเนินการต่อไป