[ใหม่] การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจมีอยู่จริงหรือไม่ในวัยรุ่นไทยที่เป็นโรคอ้วน

645 สัปดาห์ ที่แล้ว - นครนายก - คนดู 263
  • การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจมีอยู่จริงหรือไม่ในวัยรุ่นไทยที่เป็นโรคอ้วน รูปที่ 1
  • การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจมีอยู่จริงหรือไม่ในวัยรุ่นไทยที่เป็นโรคอ้วน รูปที่ 2
  • การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจมีอยู่จริงหรือไม่ในวัยรุ่นไทยที่เป็นโรคอ้วน รูปที่ 3
รายละเอียด
รวมวิธีลดพุง ลดต้นขา ลดต้นแขน วิธีลดน่องและสะโพก
การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจมีอยู่จริงหรือไม่ในวัยรุ่นไทยที่เป็นโรคอ้วน


Wilaiwan Khrisanapant (วิไลวรรณ กฤษณะพันธ์) 1, Phouvang Sengmeuang (ภูวัง แสงเมือง) 2, Orapin Pasurivong (อรพิน ผาสุริย์วงษ์) 3, Upa Kukongviriyapan (ยุพา คู่คงวิริยพันธุ์) 4

 

หลักการและเหตุผล: การศึกษาครั้งก่อนๆเกี่ยวกับผลของโรคอ้วนต่อสมดุลระหว่างซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติกของหัวใจในวัยรุ่นยังคงไม่ชัดเจน

 

วัตถุประสงค์: ตรวจสอบการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจ (cardiac autonomic activity : CAA) ในวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนโดยการใช้ spectral heart rate variability (HRV)

 

วิธีการ: วัยรุ่นที่มีดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) มากกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 95 และมากกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 5 แต่น้อยกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 85 ซึ่งอิงตามอายุและเพศถือว่าเป็นโรคอ้วนและน้ำหนักปกติตามลำดับ อาสาสมัครทุกคนไม่มีอาการทางคลินิกที่แสดงถึงโรคหัวใจและปอด ใช้ low frequency (LF) (0.04-0.15 Hz) และ high frequency (HF) (0.15-0.4 Hz) spectral powers, LF and HF in normalized units (n.u.) และอัตราส่วนของ LF ต่อ HF เป็นดัชนีของ HRV เพื่อวัด CAA ทำการวัดค่า HRV (mean ± SD) (median) เป็นเวลานาน 5 นาทีในท่านอนภายหลังนอนพักในท่าเดียวกันเป็นเวลา 10 นาที อาสาสมัครวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนมีจำนวน 23 คน (ชาย 9 คน) อายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี และน้ำหนักปกติ 24 คน (ชาย 6 คน)

 

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของ BMI ของอาสาสมัครวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนและวัยรุ่นน้ำหนักปกติคือ 33.9 ± 5.0 kg/m2 (median 33.0) และ 20.5 ± 1.6 kg/m2 (median 20.3) (p<0.001) ตามลำดับ ค่า spectral power แสดงปริมาณเป็น total power (TP), very low-frequency power (VLF), low-frequency power (LF), high-frequency power (HF) และอัตราส่วนของ LF ต่อ HF สำหรับค่า LF และ HF ซึ่งแสดงเป็น normalized unit ถูกคำนวณเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครวัยรุ่นที่มีน้ำหนักปกติพบว่าไม่มีการลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน R-R interval, TP, VLF, LF, HF และ LF/HF ในวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วน

 

สรุป: ไม่ มีการปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจ ซึ่งเป็นผลพวงของความอ้วนในวัยรุ่น จากการศึกษาครั้งนี้ไม่สนับสนุนข้อสรุปที่ว่าโรคอ้วนเพิ่มการกระตุ้นการทำ งานของซิมพาเทติกและ/หรือลดการทำงานของพาราซิมพาเทติกในวัยรุ่นไทย

 

คำสำคัญ: heart rate variability, การปรับสัญญาณของประสาทอัตโนมัติของหัวใจ, โรคอ้วนในวัยรุ่น