[ใหม่] พระสมเด็จวัดระฆังหลังค้อน๑ในพระชุดเล็กสุดยอดแห่งความคงกระพัน

674 สัปดาห์ ที่แล้ว - สมุทรปราการ - คนดู 641
รายละเอียด

พระสมเด็จวัดระฆังหลังค้อนขึ้นชื่อมานานแล้วครับเรื่องของความคงกระพัน คนเก่าคนแก่บอกว่าแขวนพระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อนแล้วปลิงไม่เกาะหรือเกาะไม่ได้ ซึ่งบ่งบอกถึงพุทธคุณที่โดดเด่นเรื่องของความคงกระพันของพระสมเด็จวัดระฆังหลังค้อนได้เป็นอย่างดี สำหรับองค์นี้สภาพใช้มาบ้างแต่ยังดูดี เนื้อหาจัดจ้าน แท้ดูง่าย และ เข้มขลังแต่ราคาย่อมเยาว์สวยๆ็ก็หลายหมื่นครับ// // แค่รายนามพระเถราจารย์ที่ร่วมเสกก็คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมพระวัดระฆังหลังฆ้อนถึงล่ำลือเรื่องคงกะพันยิ่งนัก//

..................ประวัติการจัดสร้าง.............
...................พระสมเด็จ วัดระฆัง หลังค้อน เป็นพระเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๒ ซม. สูงประมาณ ๑.๗ ซม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของ หม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชสกุล "อิศรางกูรฯ") ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง รูปที่ ๘
........... ท่านได้สร้าง พระสมเด็จ วัดระฆัง หลังค้อน รุ่นนี้ขึ้นเมื่อปี ๒๔๕๓-๒๔๕๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เมื่อปี ๒๔๖๔) ต่อมาท่านได้สร้างพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันนี้ อีกครั้งช่วงปี ๒๔๕๘-๒๔๗๐ โดยได้นำแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่างๆ ได้ลงอักขระมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช (จำลอง) ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นเชื้อชนวนในการสร้าง พระสมเด็จ วัดระฆัง หลังค้อน พิมพ์นี้

พระที่สร้างในคราวแรกมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ นอกจากนี้ยังมีพระเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อเมฆสิทธิ์ ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่วงการนักสะสมไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันได้ยาก

สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง ๖๐ รูป อาทิ
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก,
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง,
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่,
หลวงพ่อพ่วง วัดกก,
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์,
หลวงพ่อชู วัดนาคปรก,
หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม (ใต้),
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ,
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม,
หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม,
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้,
หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม,
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก,
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว,
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน,
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ),
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม,
หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน,
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า,
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ
(จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน)

การสร้าง พระสมเด็จ เนื้อโลหะทองผสม รุ่นนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่างๆ ทั้งใน จ.พระนคร (กทม.) ธนบุรี และต่างจังหวัด จำนวนมากให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลือง ที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่งๆ จากแกนชนวน แล้วจึงเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ

ลักษณะของแท่งพระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ ๓ ซม. ความยาวประมาณ ๕ ซม.ความหนาประมาณ ๐.๕ ซม. หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ แล้วใช้ค้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ หลังค้อน

พระบางองค์อาจจะมีรอยค้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น

ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว ๒ ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็น เม็ดกลม รายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพระพิมพ์ปรกโพธิ์

ด้านหลัง เป็นแบบเรียบ สมัยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ แบบ แบบหนึ่งไม่ได้ขัดแต่ง ให้ทำบุญองค์ละ ๑ บาท อีกแบบหนึ่งเป็นพระขัดแต่ง ให้ทำบุญองค์ละ ๒ บาท

ปัจจัยทำบุญนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้รวบรวมเอาไปบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถ

ทุกวันนี้ พระสมเด็จ วัดระฆัง หลังค้อน ได้กลายเป็นของดีที่มีผู้แสวงหากันมาก สนนราคายังไม่สูงเกินไป หากมีโอกาสควรจะได้หาไว้ใช้สักองค์หนึ่ง เป็นพระสายวัดระฆัง อีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจสะสมเอาไว้เป็นอย่างยิ่ง