[ใหม่] พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ พระฤาษีแก้วสารพัดนึก หลวงปู่พรหมา เขมจาโร

286 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - เขตตลิ่งชัน - คนดู 67
  • พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ พระฤาษีแก้วสารพัดนึก หลวงปู่พรหมา เขมจาโร รูปที่ 1
รายละเอียด
ก่อนหลวงปู่โต๊ะมรณภาพ มีชายหนุ่มหน้าตาหมดจดคอยตามรับใช้ใกล้ชิด ใช่เพียงอุปัฎฐากครูบาอาจารย์อย่างเดียว หากขอรับการถ่ายทอดวิทยาการด้านขลังสืบต่อจากหลวงปู่มากมายหลายหมวดวิชา แต่จบลงที่หลวงปู่สอนถึงการทำจิตอย่างเดียว จิตนี้เท่านั้นที่เป็นใหญ่ เป็นประธานสำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใจไม่ปรากฏสมาธิธรรม ท่องบ่นคาถาร้อยจบ พันจบ หมื่นจบ มันก็ไม่ขลัง ให้น่าเชื่อว่าหนุ่มคนนี้ ‘ผ่าน’ จริง หลวงปู่จึงมอบเหล็กจารคู่บารมีที่ท่านใช้มาตลอดชีวิตให้ถึง 2 ด้าม นับเป็นมรดกที่ใคร ๆ ก็ไม่อาจได้ถ้าไม่แน่จริง…..อาจารย์สุวัฒน์ พบร่มเย็น…

อาจารย์เบิ้มไม่เคยอวดว่าเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่โต๊ะ แต่เราพอใจจะกล่าวเอง แม้ไม่ยกตนว่าเชี่ยวชาญในเรื่องเวทย์ แต่เราก็พบเอง
พิสูจน์ จากพุทธาภิเษกของหลวงพ่ออุตตมะทุกคราว ท่านผูกขาดอาจารย์เบิ้มเพียงผู้เดียว ทั้งคำนวณฤกษ์และบวงสรวงครูบาอาจารย์ ฤษี โยคี เทพ พรหม ทุกชั้นฟ้า ขาดอาจารย์เบิ้มไม่ได้เด็ดขาด คล้ายขาดอาจารย์แล้วจะเสกไม่ขลัง ถามหลวงพ่อ ท่านก็ตอบเรียบ ๆ

“อาจารย์เบิ้มเชิญแล้วมาจริงๆ”
คำประกาศของหลวงพ่ออุตตมะมหาเถระ วัย 93 ปี

ปี พ.ศ. 2534 เป็นปีที่หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินฯ ภูกระเจียว เริ่มอุ่นเครื่องเรื่องชื่อเสียง ข่าวขลังของท่านแพร่กระจายไปในหมู่ผู้นิยมพระ ดังไฟลามทุ่งบนวัดที่แสนกันดารปราศจากไฟฟ้า และน้ำประปา แทบไม่มีแม้ศาลาให้สานุศิษย์อาศัยนอนพักหลบแดดฝนใด ๆ เมื่อยามบากบั่นขึ้นไปหาท่านประสาศิษย์ที่ดีมีกตเวทิตา อาจารย์เบิ้มจึงคิดทำพระถวายหลวงปู่พรหมา เพื่อสร้างเสนาสนะอย่างเป็นทางการ

อาศัยที่อยู่กับหลวงปู่โต๊ะมา นาน และเรียนรู้วิทยาคุณกับท่านอาจารย์รอด สุขเจริญ ฆราวาสผู้ขลังสุดขีดในไสยเวทพุทธาคม ด้วยอาจารย์รอด เป็นศิษย์แท้ๆ ของพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทว่าท่านบวชอยู่กับหลวงปู่ศุขได้เพียง 30 พรรษา ก็จำต้องลาสิกขามาครองขาว หากยังเป็นพระอยู่คงไม่แคล้วดังสนั่น



พระฤาษีแก้วสารพัดนึก


จัดสร้างขึ้นทั้งหมด 3 เนื้อ คือ
1. เนื้อทองคำ 24 องค์
2. เนื้อเงิน 108 องค์ (ชำรุด 5 องค์ เหลือที่สมบูรณ์เพียง 103 องค์)
เนื้อเงินนี้สร้างขึ้นจากแผ่นพระยันต์เงินบริสุทธิ์ และเหรียญเงิน สมัย ร.5 และสมัย ร.6 จำนวนมาก รวมถึงเหรียญพระพุทธและพระสงฆ์เนื้อเงินอีกจำนวนหนึ่งโดยไม่มีการผสมเม็ดเงินเปล่าๆ ลงไปผสมเลยครับ
3. เนื้อโลหะผสม จำนวนราว 1,400 องค์เศษ
ในส่วนที่สร้างด้วยโลหะผสมนี้ หากเป็นชุดที่เทในวาระแรกๆ เนื้อจะกลับดำเหมือนนวโลหะ เนื่องจากความเข้มข้นของชนวนโลหะต่างๆ ที่ผสมลงไปเป็นจำนวนมาก.ส่วนชุดหลังๆ เนื้อในจะออกคล้ายทองเหลือง เนื่องจากมีการผสมทองระฆัง และฐานพระทองเหลืองลงไปเพิ่มเติม

ในการเทเนื้อโลหะผสมเป็นช่อแรก พระจำนวน 24 องค์ถูกคัดออกไปหุ้มก้นด้วยทองคำเพื่อเข้าชุดกรรมการ
ที่เหลือราว 10 องค์ จะเป็นแบบก้นตัน โดยไม่มีการอุดผง หรือตอกโค้ดแต่อย่างใด

1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ
2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

และ จะไม่กล่าวถึงแผ่นยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยแผ่นที่พระเถรานุเถระในสายอีสานอันเป็นศิษย์ของท่านพระ อาจารย์มั่นได้เมตตาลงให้ไว้แต่นานเน ทั้งยังพระยันต์เก่าเก็บจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกเป็นกุรุสโกดัง ถึงขนาดอาจารย์ออกปากว่า “เสร็จงานนี้บ้านโล่งไปเยอะ”

ที่สำคัญยิ่ง คือ แผ่นทองแดงลงอักขระยันต์ และคาถาต่างๆ นับพันบท ซึ่งจารโดยมือของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง ได้ลงไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 1 ปิ๊บเต็ม ๆ ทองแดงบางอย่างกระดาษวางลงในปีบจนเต็ม มันจะมีกี่แผ่น?

หลวงปู่พรหมาเสกปีบยันต์บน ‘คาย’ ในถ้ำอยู่นานมาก แล้วมอบให้ประสมกับชนวนพระกริ่งปวเรศ (ปี 2530) ซึ่งในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองโดยพระหัตถ์เอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานพิธี, ชนวนพระกริ่งหลายรุ่นของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่มีจำนวนพอสมควร มิใช่นิดหน่อยแล้วเขียนเอา ,
ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่,
ชนวน พระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.เชียงราย, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

เรื่องชนวนถ้าต้องเขียนจริง ๆ อาจต้อง 5 เล่มจบ

ยังมีเหรียญหลวงปู่แหวน สุจิณโณ, เหรียญหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, เหรียญหลวงปู่เกษม เขมโก, เหรียญหลวงพ่อแช่ม ฐานุสสโก แต่ละองค์นับร้อยเหรียญ ถ้ารวมพระคณาจารย์ต่าง ๆ ก็นับพันเหรียญ

ยังปรากฏชนวนศักดิ์สิทธิ์อาถรรพ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจเปิดเผยที่มาได้ อาทิ พระเกศ และนิ้วพระหัตถ์ชำรุดของพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในประเทศไทย ตะกรุดชินตะกั่วโบราณ อายุ 200 ปี ตะปูสังขวานร เหล็กยอดเจดีย์ เหล็กยอดปราสาท โลหะธาตุวิเศษนานาที่เป็นทนสิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเองถูกเชิญมาสู่เบ้าหลอมสร้างเป็นพระทั้ง 3 พิมพ์

ที่สำคัญสุดยอดคือ พระ ยันต์บังคับทั้ง 108 ดวงและนะปถมัง 14 นะ อันเป็นสูตรโบราณในการเทพระสำคัญ ถูกจารลงในแผ่นทองคำบริสุทธิ์แท้จนครบตำรา มีน้ำหนักทั้งสิ้นถึง 50 บาท



พระฤาษีแก้วสารพัดนึก


การเทพระวาระนี้ไม่มีโลหะเปล่าอันมิใช่ของวิเศษเจือปนลงไปให้เป็นที่ครหาเลย แม้แต่น้อย ชนวนน้ำหนักมากมายหลายสิบกิโล ถูกนำมาวางเรียงรายบนโต๊ะยาวปูผ้าขาว แล้วทำการบันทึกภาพพร้อมถ่ายวีดีโอเป็นหลักฐานก่อน ต่อเนื่องไปถึงการหลอมเป็นเนื้อเดียว แล้วเททอง

องค์เททอง อาจารย์เบิ้มกำหนดที่ หลวงปู่ดี วัดสุวรรณการาม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่อาจไม่ปรากฏชื่อเสียงแพร่หลายนัก เพราะท่านเก็บตัว เนื่องจากอาพาธด้วยโรคตา โดย เหตุที่ท่านเป็นศิษย์มือซ้ายของ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งหลวงปู่บุญจะใช้ท่านจารคัมภีร์คัดลอกตำราต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เพราะท่านมีลายมือในการเขียนขอมได้อย่างสวยงามยิ่ง กระทั่งหลวงปู่ดีอายุได้ราว 80 ปี สายตาท่านก็เริ่มเสื่อมเรื่อยมาจนมองไม่เห็นในที่สุด ท่านจึงงดรับนิมนต์ใดๆ และแขกเหรื่อท่านก็ไม่สะดวกรับ

แม้ในวันที่ อาจารย์เบิ้มท่านไปกราบอาราธนา ศิษย์ท่านยังพูดอย่างหวังดีว่า อย่านิมนต์ให้ยากเลย เสียเวลาเปล่า ครั้นได้เข้ากราบและเล่าความ ท่านกลับแสดงความกระตือรือร้นที่จะไปสอบถามวันเวลา สถานที่เป็นอย่างดีแล้วก็รับนิมนต์การณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้ศิษย์ของท่านยิ่งนัก ยิ่งหนักเข้าไปอีกเมื่อหลวงปู่บอกว่า “รอเขาอยู่นาน” เมื่อพระเถระผู้เฒ่า ชนมายุ 90 ปี ไปเททองให้ตามวันเวลากำหนดแล้ว ท่านพูดในพิธีว่า วันนี้ดีมาก เทพ พรหม ลงมาอนุโมทนากันมากของในพิธีนี้ดีจริงๆ แล้วท่านก็ลากลับวัดไป เพียงไม่ถึงเดือน ท่านก็มรณภาพ
ดังคำที่ว่า “รอเขาอยู่”

อาจารย์เบิ้มได้นำพระทั้ง 3 พิมพ์ เข้าพุทธาภิเษกในวาระต่าง ๆ ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะเป็นวัดพระแก้วฯ, วัดสุทัศน์ฯ, วัดราชบพิตรฯ, วัดบวรนิเวศน์ฯ, วัดอินทารามฯ, เป็นต้น เฉพาะวัดที่กล่าวนามมาก็ไม่ต่ำกว่าวัดละ 5 พิธีเสก และพระทั้งหมดได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกมาทั่วประเทศ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30 พิธี

หากจะนับคณาจารย์ที่ปลุกเสกก็ไม่ต่ำกว่า 300 พระอาจารย์ และการนำไปอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว อาจารย์เบิ้มนำไปด้วยตนเอง จนคร้านจะไป เหตุที่พระนี้สร้างในปี พ.ศ. 2534 ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษยังปรากฏอยู่มากมาย การนำเสกจึงเป็นไปอย่างสนุกใจคนทำ

หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่แช่ม ฐานุสโก, หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ, หลวงปู่พรหมา เขมจาโร, หลวงปู่คำพัน โฆษะปัญโญ ดูจะเป็นองค์เสกชุดนี้อย่างบ่อยที่สุด นอกนั้นทั่วประเทศอาจารย์บอกผมอย่างเหนื่อยใจจะอธิบายว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2538 ชอบใจหลวงพ่ออะไร นับถือใครเอ่ยชื่อมาเลย…เอ่ยมาเถอะ… เสกแล้วทั้งนั้น!

เกร็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเททองหล่อ….เมื่อเททองเสร็จกำลังรอให้โลหะเย็นตัวเพื่อทุบเบ้า ตรวจนับพระ ได้มีคณะบุคคลหนึ่งเข้ามาในโรงหล่อ เพื่อประกอบพิธีเททองเช่นกัน บุรุษอาวุโสในกลุ่มนึกอย่างไรไม่ทราบตรงเข้ามาขอดูพระบางช่อที่ทุบเบ้าออก แล้ว ครั้นจับสัมผัสเข้าก็สะดุ้งสุดตัวเรียกร้องให้พระภิกษุวัยกลางคนมาพิจารณา

เมื่อพระรูปนั้นถือท่านก็หลับตาลงอย่างตั้งใจ ทำอาการดุจตรวจสอบอะไรบางอย่าง แล้วลืมตาอย่างตื่นเต้น พลางว่า “นี่พระอะไรศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ อาตมาขอชนวนไปหล่อพระบ้างได้ไหม” อาจารย์เบิ้มเรียนตอบว่า ยังไม่อาจถวายได้ เพราะยังไม่ได้ตัดออกจากช่อ และยังไม่ได้นับจำนวน ท่านจึงถามว่า พระนี้ขอบูชาไปบ้างได้ไหม อาจารย์ว่า ยังไม่ได้ปลุกเสกเลย ท่านสวนตูม พระนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องทำพิธีอะไร แขวนได้เลย กลุ่มบุคคลนั้น จึงขออนุญาตเดินเก็บเศษทองที่หล่นอยู่รอบๆ เบ้าไปแทน.เมื่อสอบถามภายหลังจึงทราบว่า คณะนั้นมาเพื่อเทหล่อรูปเหมือนบูชาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ถ้าอย่างนั้นผมขอเดาว่าบุรุษภูมิฐานท่านนั้นคงเป็นคุณหมอเสรี วรรณไกรโรจน์ ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อพุธ และพระเถระรูปนั้นต้องเป็นท่านพระอาจารย์ชู วัดเขากะป่อม อ.เมือง จ.ชลบุรี ไม่สงสัย เพราะท่านอาจารย์ชูรูปนี้ สามารถสัมผัสพลังพระเครื่องได้แม่นยำน่ามหัศจรรย์ แม้หลวงพ่อพุธก็ยอมรับในข้อนี้ และคุณหมอเสรีเองก็เป็นศิษย์ท่านอาจารย์ชูที่ได้รับการถ่ายทอดวิชามาด้วย เช่นกัน

คุณUltrachaiให้ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของพระฤาษีแก้วสารพัดนึกว่า…ด้วยท่านเป็นพรหมาฤษีที่ทรงฤทธานุภาพสูง สุดในหมู่ฤษีทั้งปวง การครองผ้าขาวอย่างโยคีแสดงถึงพรตแห่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ ไม่อาจครองหนังเสือเยี่ยงฤษีทั่วไป และโดยบุญบารมีที่ไพศาล จึงปรากฏดวงแก้วสารพัดนึกเป็นของคู่บารมีเฉกเช่นหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

ภาพประกอบนั้นเป็นภาพของพระฤาษีที่มีคุณUltrachaiเป็นผู้ครอบครองอยู่ ภาพนี้นำมาใช้เพื่อประกอบกระทู้ในเชิงวิชาการเท่านั้น การนำภาพและเนื้อความไปใช้ในเชิงพาณิชย์ควรได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อเขียนและภาพพระเครื่องก่อน


พระฤาษีแก้วสารพัดนึกกริ่ง หลวงปู่พรหมา เขมจาโร เนื้อโลหะผสม



ก้นตอกโค๊ดสองโค๊ด จารอักขระยันต์ด้วยมือที่ใต้ฐานองค์พระ

สนใจติดต่อ สอบถาม ราคาและ บูชา
ธนวัฒน์ โทรศัพท์มือถือ 092-264-4368