[ใหม่] ปาฏิหาริย์หลวงพ่อโบสถ์น้อย ปกป้องวัดและชาวบ้าน พุทธคุณเทียบเท่าสมเด็จ
286 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - เขตตลิ่งชัน - คนดู 25
500 ฿
รายละเอียด
ปาฏิหาริย์หลวงพ่อโบสถ์น้อย ปกป้องวัดและชาวบ้าน พุทธคุณเทียบเท่าสมเด็จปาฏิหาริย์หลวงพ่อโบสถ์น้อย ปกป้องวัดและชาวบ้าน ชาวฝั่งธนมั่นใจ! พุทธคุณเทียบเท่าสมเด็จ
ประวัติหลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างใน สมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง 4 ห้อง
ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. 2441 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัดจนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง 3 ห้องเท่านั้น ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง
ชาวบ้านจึงเรียกว่า “โบสถ์น้อย” และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย”ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไปกล่าวคือ
เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้นเมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นจนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกัน จึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย
ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆ พระอุโบสถ ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนี้ เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว
เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนใน พ.ศ. 2504 พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่า “โบสถ์น้อย” นั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม
และในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปนั้น ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้ เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านช่างหล่อมาหลายท่าน เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด
ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซม ส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกันเมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช
ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น จะจัดในเดือนเมษายน (ราวกลางเดือน 5) แต่ในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 29 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์น้อย เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
ในเรื่องของการปัดระเบิดนั้น มีเสียงร่ำลือจากผู้เฒ่าผู้แก่ย่านอรุณอมรินทร์ เล่ากันว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อย ท่านใช้มือของท่านปัดระเบิดให้ไปลงที่แม่น้ำ ไม่ให้ระเบิดลงบ้านผู้คน และเชื่อว่าเหตุการณ์หลังจากระเบิดในครั้งนั้น ทำให้มือและแขนของหลวงพ่อโบสถ์น้อยร้าวไปข้างหนึ่ง และการที่เศียรหลุดก็เป็นการบรรเทาเคราะห์แทนชาวบ้าน
กิตติคุณ บารมีของหลวงพ่อโบสถ์น้อยนั้น ชาวฝั่งธนต่างเคยมีประสบการณ์กันถ้วนทั่ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัดเป่าโรคภัย หรือแม้แต่เรื่องความแคล้วคลาดก็ไม่เป็นรองใคร จนเป็นอันรู้กันทั่วไปว่า หากหาสมเด็จวัดระฆังมาครอบครองไม่ได้ ก็พกเหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อยไว้ สรรพคุณไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ขอขอบคุณบทความดีดี จากทีนิวส์
หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม รุ่นบูรณโบสถ์ เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์เป็นกระเบื้องหลังคาโบสถ์ผ่านพิธีปลุกเสกมายาวนานหลายพิธี
ให้เช่า 500 บาท ค่าส่ง 50 บาท
สนใจสอบถามธนวัฒน์ โทรศัพท์มือถือ 092-264-4368
พระเครื่องหลวงปู่สรวงเทวดาเล่นดินตำนานพระเกจิและภาคอภินิหาร
วัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง สนใจไปที่
www.หลวงปู่สรวง.net
หรือ ติดต่อ ธนวัฒ์ปู่สรวง โทร 0922644368
คำค้นเกี่ยวกับ หลวงปู่สรวง
หลวงปู่สรวง, หลวงพ่อกอย, หลวงพ่อสาย, หลวงปู่ชื่น, กุมารทอง, ลูกกรอก, หลวงปู่ข้าวแห้ง,
ประวัติหลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างใน สมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง 4 ห้อง
ครั้นต่อมาถึง พ.ศ. 2441 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัดจนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง 3 ห้องเท่านั้น ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง
ชาวบ้านจึงเรียกว่า “โบสถ์น้อย” และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย”ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไปกล่าวคือ
เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้นเมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นจนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกัน จึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย
ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆ พระอุโบสถ ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนี้ เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว
เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนใน พ.ศ. 2504 พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่า “โบสถ์น้อย” นั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม
และในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปนั้น ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้ เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านช่างหล่อมาหลายท่าน เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด
ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซม ส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกันเมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช
ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น จะจัดในเดือนเมษายน (ราวกลางเดือน 5) แต่ในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 29 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์น้อย เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
ในเรื่องของการปัดระเบิดนั้น มีเสียงร่ำลือจากผู้เฒ่าผู้แก่ย่านอรุณอมรินทร์ เล่ากันว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อย ท่านใช้มือของท่านปัดระเบิดให้ไปลงที่แม่น้ำ ไม่ให้ระเบิดลงบ้านผู้คน และเชื่อว่าเหตุการณ์หลังจากระเบิดในครั้งนั้น ทำให้มือและแขนของหลวงพ่อโบสถ์น้อยร้าวไปข้างหนึ่ง และการที่เศียรหลุดก็เป็นการบรรเทาเคราะห์แทนชาวบ้าน
กิตติคุณ บารมีของหลวงพ่อโบสถ์น้อยนั้น ชาวฝั่งธนต่างเคยมีประสบการณ์กันถ้วนทั่ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัดเป่าโรคภัย หรือแม้แต่เรื่องความแคล้วคลาดก็ไม่เป็นรองใคร จนเป็นอันรู้กันทั่วไปว่า หากหาสมเด็จวัดระฆังมาครอบครองไม่ได้ ก็พกเหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อยไว้ สรรพคุณไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
ขอขอบคุณบทความดีดี จากทีนิวส์
หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม รุ่นบูรณโบสถ์ เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์เป็นกระเบื้องหลังคาโบสถ์ผ่านพิธีปลุกเสกมายาวนานหลายพิธี
ให้เช่า 500 บาท ค่าส่ง 50 บาท
สนใจสอบถามธนวัฒน์ โทรศัพท์มือถือ 092-264-4368
พระเครื่องหลวงปู่สรวงเทวดาเล่นดินตำนานพระเกจิและภาคอภินิหาร
วัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง สนใจไปที่
www.หลวงปู่สรวง.net
หรือ ติดต่อ ธนวัฒ์ปู่สรวง โทร 0922644368
คำค้นเกี่ยวกับ หลวงปู่สรวง
หลวงปู่สรวง, หลวงพ่อกอย, หลวงพ่อสาย, หลวงปู่ชื่น, กุมารทอง, ลูกกรอก, หลวงปู่ข้าวแห้ง,